นายพรชัย รัตนตรัยภพ ผู้บริหาร บริษัท อินเตอร์โปรไฟล์ จำกัด ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชน

1546 Views  | 

ชูออโตเมชั่นให้เอสเอ็มอีช้อปกันเอง ลดต้นทุนนำเข้า เพิ่มโอกาสผู้ผลิตไทย

นายพรชัย รัตนตรัยภพ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)เครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย(ดีไอพี เอสเอ็มอี เน็ตเวิร์ค) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้ร่วมกับนายนิวัฒน์ มีมงคลเกียรติ ประธานเครือข่ายฯ และสมาชิกเอสเอ็มอี เดินทางเข้าพบนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(ดีพร้อม) และผู้บริหาร เพื่อประชุมหารือเพื่อหารือแนวทางแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยทางเครือข่ายในฐานะตัวแทนเอสเอ็มอีไทยเห็นว่าผู้ประกอบการไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและขาดแคลนกำลังซื้อ จึงเสนอให้ดีพร้อมจัดทำ 3 โครงการ คือ

  1. โครงการสร้างเครือข่ายเอสเอ็มอีในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันในกลุ่มผู้มีศักยภาพให้ช่วยเหลือกันเอง
  2. โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในกลุ่มที่มีความพร้อมนำระบบออโตเมชั่นมาใช้แทนแรงงานที่ขาดแคลน ปัจจุบันสมาชิกประกอบด้วยอุตสาหกรรมขนาดกลางชั้นนำจำนวนมาก หากส่งเสริมให้นำระบบดังกล่าวมาใช้จะแป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งทดแทนการนำเข้าระบบออโตเมชั่นจากต่างประเทศ เนื่องจากมูลค่าการลงทุนสูง เอสเอ็มอีเข้าถึงได้ยาก อยากให้ดีพร้อมเพื่อเพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีทั้งผู้ต้องการใช้ และผู้ผลิตไทย และ
  3. โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการใหม่ในสาขาที่แรงงานขาดแคลน อาทิ ช่างติดตั้งและซ่อมแอร์ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนและสร้างผู้ประกอบการใหม่ มั่นใจหากผู้เข้ารับการอบรมจะมีรายได้หลังฝึกอบรม 30,000-80,000 บาทต่อเดือน

“จากขัอเสนอดังกล่าวมั่นใจจะแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อม เกิดความต้องการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งเอสเอ็มอีผู้ต้องการใช้ออโตเมชั่น และผู้ผลิต ถือเป็นการนำเอสเอ็มอีมาเจอกัน จับคู่กัน จากเดิมผู้ใช้ต้องซื้อจากต่างประเทศ ขณะที่ผู้ผลิตไทยไม่มีตลาด และแนวทางนี้จะป้องกันปัญหาการเบี้ยวหนี้ด้วย เพราะร่วมมือเป็นเครือข่าย สามารถตามกันเจอได้ โดยข้อเสนอทั้งหมด นายภาสกรให้ความสนใจมากและตอบรับดำเนินการให้ผู้อำนวยการแต่ละกองดำเนินการต่อ”นายพรชัยกล่าว


สำหรับงบประมาณที่เสนอขอจากดีพร้อมไม่มาก ข้อเสนอ1และ3 น่าจะใช้งบประมาณหลักแสนบาทเท่านั้น ขณะที่ข้อเสนอ2คาดว่าจะใช้เงินสนับสนุนผู้ประกอบการต้นแบบรายละ 3 แสนบาท ดีพร้อมอาจช่วย 5 หมื่นถึง1 แสนบาท  เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการลงทุนโดยซื้อระบบออโตเมชั่นกับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อสนับสนุนกันเอง เบื้องต้นอาจเริ่มที่ 15-20 กิจการ อาทิ ชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ โดยแนวทางนี้ต้องมียุทธศาสตร์และแรงสนับสนุนจากดีพร้อม

https://www.matichon.co.th/economy/news_3081773

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy